ใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ art4d น่าจะจำสถาปนิก/ศิลปินชาวฟินแลนด์ที่ชื่อ Marco Casagrande กันได้ จากการร่วมงานกับเพื่อนร่วมสัญชาติ Sami Rintala เมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว ในผลงานที่ชื่อ Land(e)scape และ Slaughter Carnival (art4d no. 147) ครั้งนั้นสองคู่หูชาว Lapland ได้ร่วมกันออกแบบ art installation ที่ประกอบไปด้วยโรงนาเล็กๆสามหลัง แต่ละหลังวางบนแท่งไม้ผอมเพรียวสี่แท่ง ราวกับว่าโรงนาเหล่านั้นมีขาที่เรียวยาว และกำลังเดินทางย้ายออกจากชนบทมุ่งหน้าสู่เมืองหลวง เป็นการสะท้อนแบบขบนิดๆถึงชีวิตชนบทของชาวฟินนิชที่กำลังได้รับความนิยมแบบฮวบฮาบ และในตอนท้ายของการแสดง โครงสร้างเหล่านั้นก็ถูกจุดไฟเผาจนไหม้เป็นจุณ เป็นการไว้อาลัยให้กับการสูญเสียเสน่ห์อันงดงามและเรียบง่ายของสังคมนอกเมือง ความแรงของงานแบบเข้าตากรรมการนี้ส่งผลให้ทั้งคู่ได้รับรางวัล AR Awards for Emerging Architecture ซึ่งจัดโดยนิตยสาร Architecture Review ในปี 1999 มาครอบครอง
มาครานี้ ทศวรรษให้หลัง Marco Casagrande กลับมาเฉิดฉายบนหน้ากระดาษของ art4d อีกครั้งกับผลงานบ้านที่ใต้หวันในนาม Chen House อันเป็นการร่วมงานกับสถาปนิกท้องถิ่น Frank Chen เรื่องราวของบ้านน้อยหลังนี้เริ่มต้นจากการที่สามีภรรยาคู่หนึ่งต้องการที่จะใช้ชีวิตง่ายๆแบบตายายหลังเกษียณ ในไร่เชอร์รี่ญี่ปุ่นบนภูเขา Datun ในบริเวณ Sanjhih ทางด้านเหนือของประเทศใต้หวัน ทั้งคู่ตั้งใจที่จะย้ายออกจากตัวเมืองเข้าสู่ชนบทเพื่อหลีกหนีความสับสนวุ่นวายในเมือง กลับสู่ความสามัญ สงบ เรียบง่าย ของชีวิตแบบบ้านนอกๆ เมื่อนึกย้อนเปรียบเทียบกลับไปถึงเมื่อสิบปีที่แล้ว Chen House นับได้ว่าเป็นงานชนิดขั้วตรงข้ามกับ Land(e)scape อย่างเสียมิได้ และก็ไม่แน่ว่าโรงนาเล็กๆเหล่านั้น ถ้าไม่ถูกเผาวอดซะก่อน วันหนึ่งอาจจะเดินย้อนกลับมาสู่ชนบทอีกครั้งก็เป็นได้
สภาพที่ตั้งและดินฟ้าอากาศที่มิค่อยจะเป็นมิตรนักเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้บ้านหลังนี้มีลักษณะที่น่่าสนใจ แทนที่จะออกแบบอาคารให้มีความแข็งแรงหนาหนักทึบตันดั่งป้อมปราการเพื่อต้านทานสภาวะอากาศอันเลวร้าย Casagrande และ Chen เลือกที่จะใช้เทคนิคสงบและนุ่มนวลเพื่อสยบความเคลื่อนไหว ตัวบ้านถูกออกแบบใ้ห้มีลักษณะโปร่ง โล่ง สบาย ด้วยพื้นไม้ตีเว้นร่องทั้งภายในและภายนอก เชื่อมต่อเลื่อนไหลถึงกันเป็นระนาบเดียวอย่างไม่มีอะไรมาหยุดยั้ง จะต่างกันก็แต่ส่วนพักอาศัยภายในนั้นมีเปลือกอาคารซึ่งก็ก่อสร้างด้วยวัสดุชนิดเดียวกันห่อหุ้มอยู่ ตัวผนังไม้มีการตีเว้นร่องเช่นเดียวกับพื้นไม้ เพื่อช่วยในการระบายอากาศและลดแรงปะทะจากลมพายุ โดยผนังที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มพื้นที่กึ่งภายนอกของอาคารจะมีร่องที่ใหญ่กว่าผนังห่อหุ้มพื้นที่ภายใน ทำหน้าที่เป็นแผงกันแดดให้กับส่วนรับประทานอาหารภายนอกที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของอาคาร ตัวบ้านที่ดูบางเบาราวกับจะเหิรสามารถรอดตัวจากใต้ฝุ่นและแผ่นดินไหวได้ด้วยส่วนพระรอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของส่วนบริการที่ประกอบไปด้วย ห้องครัว ห้องน้ำ และซาวน่า (ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะว่าออกแบบโดยสถาปนิกชาวฟินแลนด์หรือเปล่าถึงต้องมีซาวน่า) เจ้าส่วนเล็กพริกขี้หนูนี้เองเป็นหัวใจหลักทางโครงสร้างที่ทำหน้าที่ค้ำยันส่วนโปร่งที่มีขนาดโตกว่า มองผาดๆแม้ว่ารูปลักษณ์ของตัวบ้านจะดูง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ แต่นับว่า Casagrande และ Chen วางผังการใช้ประโยชน์ได้อย่างลงตัวและเป็นสัดส่วนทีเดียว
ทว่าความเลวร้ายของสภาวะที่ตั้งไม่ได้หยุดอยู่แค่พายุและแผ่นดินไหวเท่านั้น เฉกเช่นกุหลาบงามที่ย่อมต้องมีหนามแหลมคม วิวสวยๆของแม่น้ำ Datun ที่อยู่ใกล้ๆ ก็แอบแถมมาด้วยปริมาณน้ำที่เกินความจำเป็นในหน้าน้ำหลาก สองสถาปนิกคู่หูใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบไทยๆด้วยการยกตัวบ้านให้สูงขึ้นจากระดับดินเพื่อหนีน้ำ จะต่างกันก็เพียงแต่ว่าใต้ถุนบ้านนี้ไม่สูงพอที่จะผูกวัวหรือควายไว้ใต้บ้านเท่านั้นเอง นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายกย่องทีเดียวที่แนวความคิดในการออกแบบให้ออมชอมกับสภาพธรรมชาตินั้น มีสะท้อนให้เห็นอยู่ในทุกรูขุมขนของบ้านจริงๆ นี่ถ้าไม่เกรงใจกันคาดว่าคงออกแบบให้ลอยตามน้ำได้แบบเรือไปแล้ว
วัสดุก่อสร้างหลักที่ใช้ก็ง่ายๆมีเพียงแค่สองชนิดคือคอนกรีตซึ่งใช้เป็นส่วนของฐานราก กับไม้มะฮอกกะนี (Mahogany) ที่เป็นวัสดุหลักสำคัญ ที่เหลือก็เป็นวัสดุรอง เช่นกระจกสำหรับประตูหน้าต่าง และอิฐสำหรับเตาผิง ในส่วนเรื่องของเทคนิคการใช้วัสดุและการก่อสร้างนั้นเรียกได้ว่าแมนสุดๆ โดยไม่มีการปรับแต่งผิววัสดุหรือซ่อนเร้นรายละเอียดปลีกย่อยใดๆทั้งสิ้น ไม้ที่ได้มาสภาพเป็นอย่างไรก็ใช้มันอย่างนั้น ถ้าดูให้ดีๆจะเห็นว่าบางแง่บางมุมยังมีเสี้ยนไม้คาอยู่เลย! สีของเนื้อไม้จะแตกต่างจะด่างจะดำก็ช่างมัน ดูๆไปแล้วก็มีเสน่ห์ดีพิกล เห็นทื่อๆอย่างนี้ก็เถอะ ใครที่ตาคมหน่อยอาจจะสังเกตได้ว่า แท้จริงแล้วก็ลอบมีลูกเล่นจุกจิกในงานดีไซน์แอบแฝงอยู่ ยกตัวอย่างเช่นการเลือกไม้ที่มีสีแผกออกไปสำหรับแผงไม้แถวบนสุด เพื่อเป็นการเน้นองค์ประกอบแนวระนาบและเพื่อเป็นรายละเอียดของการจบ (Termination detail) ของตัว mass อาคาร
เดินวนรอบบ้านอยู่หลายรอบคราวนี้เราเข้ามาดูข้างในกัน พื้นที่ใช้สอยภายในมีลักษณะเปิดโล่งแบบ open plan ไม่ว่าจะเป็น ดื่ม กิน อยู่ หลับนอน หรือ เล่น ทุกกิจกรรมเกิดขึ้นในบริเวณนี้ทั้งสิ้น แสงแดดที่เล็ดเข้ามาตามร่องบนผนังเมื่อซ้อนทับกับแสงที่ลอดเข้ามาจากผนังด้านตรงข้ามก่อให้เกิดความงามแบบมลังเมลืองที่ผันแปรไปตลอดเวลาตามสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ช่องเปิดบนตัวอาคารสถาปนิกจงใจออกแบบให้มีระดับที่ต่ำกว่าปกติเพื่อนำเสนอทิวทัศน์ในระดับสายตาให้แก่ผู้พักอาศัยในขณะที่นั่งแบบบ้านๆบนฟูกที่วางอยู่บนพื้น ถัดออกมานิดทางส่วนปลายของบ้าน เป็นที่ตั้งของเตาผิงอิฐเปลือยที่ช่วยให้ความอบอุ่นในหน้าหนาวและใช้ต้มน้ำร้อนชงชาไปด้วยในตัว โดยมีปล่องไฟระบายควันและความร้อนเจาะทะลุออกไปบนหลังคาของบ้านที่ถูกออกแบบให้เป็นลานชมวิว ซึ่งเจ้าปล่องนี้เองก็สามารถช่วยคลายความยะเยือกให้แก่บริเวณดาดฟ้านี้ได้ระดับหนึ่ง
หากเปรียบหายนะของเหล่าอาคารตึกสูงที่ผ่านตาเราๆท่านๆอยู่เนืองๆทางสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง CNN หรือ BBC กับต้นไม้ใหญ่ที่หักโค่นหลังพายุร้ายแล้ว Chen House ในทางตรงกันข้าม ก็เสมือนได้ดั่งต้นหญ้้าที่ลู่ไปตามลม และพร้อมที่จะตั้งใบอีกครั้งเมื่อยามแสงอาทิตย์แรกมาเยือน ด้วยคุณลักษณ์ของความไม่เที่ยงไม่สมบูรณ์และความไม่จีรัง ผนวกกับการเล่น+ล้อไปกับสายน้ำ สายลม และแสงแดด Chen House นับได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งปรากฏการณ์ (Phenomenal Architecture) อย่างแท้จริง
Jirawit Jamkleeb 2009
มาครานี้ ทศวรรษให้หลัง Marco Casagrande กลับมาเฉิดฉายบนหน้ากระดาษของ art4d อีกครั้งกับผลงานบ้านที่ใต้หวันในนาม Chen House อันเป็นการร่วมงานกับสถาปนิกท้องถิ่น Frank Chen เรื่องราวของบ้านน้อยหลังนี้เริ่มต้นจากการที่สามีภรรยาคู่หนึ่งต้องการที่จะใช้ชีวิตง่ายๆแบบตายายหลังเกษียณ ในไร่เชอร์รี่ญี่ปุ่นบนภูเขา Datun ในบริเวณ Sanjhih ทางด้านเหนือของประเทศใต้หวัน ทั้งคู่ตั้งใจที่จะย้ายออกจากตัวเมืองเข้าสู่ชนบทเพื่อหลีกหนีความสับสนวุ่นวายในเมือง กลับสู่ความสามัญ สงบ เรียบง่าย ของชีวิตแบบบ้านนอกๆ เมื่อนึกย้อนเปรียบเทียบกลับไปถึงเมื่อสิบปีที่แล้ว Chen House นับได้ว่าเป็นงานชนิดขั้วตรงข้ามกับ Land(e)scape อย่างเสียมิได้ และก็ไม่แน่ว่าโรงนาเล็กๆเหล่านั้น ถ้าไม่ถูกเผาวอดซะก่อน วันหนึ่งอาจจะเดินย้อนกลับมาสู่ชนบทอีกครั้งก็เป็นได้
สภาพที่ตั้งและดินฟ้าอากาศที่มิค่อยจะเป็นมิตรนักเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้บ้านหลังนี้มีลักษณะที่น่่าสนใจ แทนที่จะออกแบบอาคารให้มีความแข็งแรงหนาหนักทึบตันดั่งป้อมปราการเพื่อต้านทานสภาวะอากาศอันเลวร้าย Casagrande และ Chen เลือกที่จะใช้เทคนิคสงบและนุ่มนวลเพื่อสยบความเคลื่อนไหว ตัวบ้านถูกออกแบบใ้ห้มีลักษณะโปร่ง โล่ง สบาย ด้วยพื้นไม้ตีเว้นร่องทั้งภายในและภายนอก เชื่อมต่อเลื่อนไหลถึงกันเป็นระนาบเดียวอย่างไม่มีอะไรมาหยุดยั้ง จะต่างกันก็แต่ส่วนพักอาศัยภายในนั้นมีเปลือกอาคารซึ่งก็ก่อสร้างด้วยวัสดุชนิดเดียวกันห่อหุ้มอยู่ ตัวผนังไม้มีการตีเว้นร่องเช่นเดียวกับพื้นไม้ เพื่อช่วยในการระบายอากาศและลดแรงปะทะจากลมพายุ โดยผนังที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มพื้นที่กึ่งภายนอกของอาคารจะมีร่องที่ใหญ่กว่าผนังห่อหุ้มพื้นที่ภายใน ทำหน้าที่เป็นแผงกันแดดให้กับส่วนรับประทานอาหารภายนอกที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของอาคาร ตัวบ้านที่ดูบางเบาราวกับจะเหิรสามารถรอดตัวจากใต้ฝุ่นและแผ่นดินไหวได้ด้วยส่วนพระรอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของส่วนบริการที่ประกอบไปด้วย ห้องครัว ห้องน้ำ และซาวน่า (ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะว่าออกแบบโดยสถาปนิกชาวฟินแลนด์หรือเปล่าถึงต้องมีซาวน่า) เจ้าส่วนเล็กพริกขี้หนูนี้เองเป็นหัวใจหลักทางโครงสร้างที่ทำหน้าที่ค้ำยันส่วนโปร่งที่มีขนาดโตกว่า มองผาดๆแม้ว่ารูปลักษณ์ของตัวบ้านจะดูง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ แต่นับว่า Casagrande และ Chen วางผังการใช้ประโยชน์ได้อย่างลงตัวและเป็นสัดส่วนทีเดียว
ทว่าความเลวร้ายของสภาวะที่ตั้งไม่ได้หยุดอยู่แค่พายุและแผ่นดินไหวเท่านั้น เฉกเช่นกุหลาบงามที่ย่อมต้องมีหนามแหลมคม วิวสวยๆของแม่น้ำ Datun ที่อยู่ใกล้ๆ ก็แอบแถมมาด้วยปริมาณน้ำที่เกินความจำเป็นในหน้าน้ำหลาก สองสถาปนิกคู่หูใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบไทยๆด้วยการยกตัวบ้านให้สูงขึ้นจากระดับดินเพื่อหนีน้ำ จะต่างกันก็เพียงแต่ว่าใต้ถุนบ้านนี้ไม่สูงพอที่จะผูกวัวหรือควายไว้ใต้บ้านเท่านั้นเอง นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายกย่องทีเดียวที่แนวความคิดในการออกแบบให้ออมชอมกับสภาพธรรมชาตินั้น มีสะท้อนให้เห็นอยู่ในทุกรูขุมขนของบ้านจริงๆ นี่ถ้าไม่เกรงใจกันคาดว่าคงออกแบบให้ลอยตามน้ำได้แบบเรือไปแล้ว
วัสดุก่อสร้างหลักที่ใช้ก็ง่ายๆมีเพียงแค่สองชนิดคือคอนกรีตซึ่งใช้เป็นส่วนของฐานราก กับไม้มะฮอกกะนี (Mahogany) ที่เป็นวัสดุหลักสำคัญ ที่เหลือก็เป็นวัสดุรอง เช่นกระจกสำหรับประตูหน้าต่าง และอิฐสำหรับเตาผิง ในส่วนเรื่องของเทคนิคการใช้วัสดุและการก่อสร้างนั้นเรียกได้ว่าแมนสุดๆ โดยไม่มีการปรับแต่งผิววัสดุหรือซ่อนเร้นรายละเอียดปลีกย่อยใดๆทั้งสิ้น ไม้ที่ได้มาสภาพเป็นอย่างไรก็ใช้มันอย่างนั้น ถ้าดูให้ดีๆจะเห็นว่าบางแง่บางมุมยังมีเสี้ยนไม้คาอยู่เลย! สีของเนื้อไม้จะแตกต่างจะด่างจะดำก็ช่างมัน ดูๆไปแล้วก็มีเสน่ห์ดีพิกล เห็นทื่อๆอย่างนี้ก็เถอะ ใครที่ตาคมหน่อยอาจจะสังเกตได้ว่า แท้จริงแล้วก็ลอบมีลูกเล่นจุกจิกในงานดีไซน์แอบแฝงอยู่ ยกตัวอย่างเช่นการเลือกไม้ที่มีสีแผกออกไปสำหรับแผงไม้แถวบนสุด เพื่อเป็นการเน้นองค์ประกอบแนวระนาบและเพื่อเป็นรายละเอียดของการจบ (Termination detail) ของตัว mass อาคาร
เดินวนรอบบ้านอยู่หลายรอบคราวนี้เราเข้ามาดูข้างในกัน พื้นที่ใช้สอยภายในมีลักษณะเปิดโล่งแบบ open plan ไม่ว่าจะเป็น ดื่ม กิน อยู่ หลับนอน หรือ เล่น ทุกกิจกรรมเกิดขึ้นในบริเวณนี้ทั้งสิ้น แสงแดดที่เล็ดเข้ามาตามร่องบนผนังเมื่อซ้อนทับกับแสงที่ลอดเข้ามาจากผนังด้านตรงข้ามก่อให้เกิดความงามแบบมลังเมลืองที่ผันแปรไปตลอดเวลาตามสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ช่องเปิดบนตัวอาคารสถาปนิกจงใจออกแบบให้มีระดับที่ต่ำกว่าปกติเพื่อนำเสนอทิวทัศน์ในระดับสายตาให้แก่ผู้พักอาศัยในขณะที่นั่งแบบบ้านๆบนฟูกที่วางอยู่บนพื้น ถัดออกมานิดทางส่วนปลายของบ้าน เป็นที่ตั้งของเตาผิงอิฐเปลือยที่ช่วยให้ความอบอุ่นในหน้าหนาวและใช้ต้มน้ำร้อนชงชาไปด้วยในตัว โดยมีปล่องไฟระบายควันและความร้อนเจาะทะลุออกไปบนหลังคาของบ้านที่ถูกออกแบบให้เป็นลานชมวิว ซึ่งเจ้าปล่องนี้เองก็สามารถช่วยคลายความยะเยือกให้แก่บริเวณดาดฟ้านี้ได้ระดับหนึ่ง
หากเปรียบหายนะของเหล่าอาคารตึกสูงที่ผ่านตาเราๆท่านๆอยู่เนืองๆทางสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง CNN หรือ BBC กับต้นไม้ใหญ่ที่หักโค่นหลังพายุร้ายแล้ว Chen House ในทางตรงกันข้าม ก็เสมือนได้ดั่งต้นหญ้้าที่ลู่ไปตามลม และพร้อมที่จะตั้งใบอีกครั้งเมื่อยามแสงอาทิตย์แรกมาเยือน ด้วยคุณลักษณ์ของความไม่เที่ยงไม่สมบูรณ์และความไม่จีรัง ผนวกกับการเล่น+ล้อไปกับสายน้ำ สายลม และแสงแดด Chen House นับได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งปรากฏการณ์ (Phenomenal Architecture) อย่างแท้จริง
Jirawit Jamkleeb 2009
LINK
No comments:
Post a Comment